ผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือ ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : คณะบุคคล, คำนวณภาษี, จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, นิติบุคคล, บุคคลธรรมดา, ผู้ประกอบการ, ผู้ประกอบการจดทะเบียน, ภาษี, ภาษีซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ห้างหุ้นส่วนสามัญ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี | Comments Off on ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ประเภทของภาษีในประเทศไทย
ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 5 ประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีอากรแสตมป์
และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่
- ภาษีป้าย
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
- ภาษีบำรุงท้องที่
อีกทั้งยังมีภาษีอากรที่จัดเก็บโดย กรมสรรพสามิต ที่เรียกว่าภาษีสรรพสามิต ที่เรียกเก็บกับสินค้าและบริการบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, นิติบุคคล, น้ำหอม, บุคคลธรรมดา, ประเทศไทย, ประเภทของภาษี, ป้าย, ภาษี, ภาษีที่ดิน, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีอากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีโรงเรือน, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีในประเทศไทย, ยาสูบ, สรรพากร, สุรา, ส่วนท้องถิ่น, อากรแสตมป์, แสตมป์
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการคลัง, การค้า, การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, การปฏิรูปภาษี, การปฏิรูปภาษีการค้า, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การลงทุน, การลงทุนการส่งออก, การส่งออก, การเงินการคลัง, ประวัติ, ประวัติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ประเทศไทย, ผู้เสียภาษี, ภาษี, ภาษีการค้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากร, มูลค่าเพิ่ม, ระบบ, ระบบภาษี, ระบบภาษีการค้า, ระบบภาษีอากร, ศุลกากร, เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, เศรษฐกิจ, โครงสร้างภาษี
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : Value Added Tax, VAT, การจ่ายภาษี, จ่ายภาษี, ภาษี, ภาษีขาย, ภาษีซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, มูลค่าเพิ่ม, วัตถุดิบ, วัสดุอุปกรณ์, อัตราภาษี, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.177/2552
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. ๑๗๗/๒๕๕๒
เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
———————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ มาตรา ๘๓ และมาตรา ๙๑/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ (๓) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๑๑๒/๒๕๔๕ เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ (๓) หน่วยงานสรรพากร อาคารกองอำนวยการตลาดโรงเกลือ เลขที่ ๓๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีกรณีการขายสินค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จุดผ่อนปรน โรงเกลือ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอรัญประเทศ”
ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.176/2552
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.๑๗๖/๒๕๕๒
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
——————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๖ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๓๔/๒๕๓๔ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วไม่ต่ำกว่า ๖๐ ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร
(๒) ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล
(๓) กำหนดเวลาเช่าต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการให้เช่าอาจไม่ถึง ๓ ปีก็ได้
คำว่า “การให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง” หมายความว่า สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนำออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ให้เช่าก็ได้”
ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/publish/41668.0.html
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง, ประมวลรัษฎากร, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
Posted in ข่าวกรมสรรพากร | No Comments »