สิทธิประโยชน์ จากการจดแจ้งทางภาษีอากร และการใช้งบการเงินที่ถูกต้อง


สิทธิประโยชน์ จากการจดแจ้งทางภาษีอากร และการใช้งบการเงินที่ถูกต้อง

ลูกค้าที่กำลังมองหา บริษัทรับทำบัญชีรายปี ตรวจสอบบัญชี ปิดงบการเงิน รีบทักน่ะค่ะ #ปรึกษาฟรี #ราคาถูกใจ

#บริการงานด้านบัญชี
– ทำบัญชีรายเดือน ตามมาตรฐานการบัญชีที่รับรองทั่วไป ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูปที่กรมสรรพากรยอมรับล่าสุด
#บริการงานด้านตรวจสอบบัญชี
– ตรวจสอบบัญชี งบการเงิน ด้วยทีมงานผู้ตรวจสอบที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
#บริการงานด้านประกันสังคม
– บริการตอบปัญหาเกี่ยวกับประกันสังคม ฟรี ตลอดอายุสัญญาบริการ
#บริการงานด้านจดทะเบียน
– จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด
– จดเลิกกิจการและชำระบัญชี
– จดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง
– จดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
#บริการด้านกฎหมาย (Legal Services)
สามารถติดต่อสอบถามทางเราได้ทุกช่องทางเลยน่ะค่ะ
#ติดต่อที่สำนักงาน
บจก.วิทตี้ แอคเค้าท์ แอนด์ ลอว์
83/32 ซ.พระรามที่2 ซอย 62 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กทม
#ติดต่อทางโทรศัพท์
02-451-3599,093-695-1451 (คุณตุ๊กตา)
Line ID : wittyandlaw
#ส่งเอกสารเพื่อปรึกษาและส่งรายละเอียดเพื่อขอใบเสนอราคา
Mail : Wittyandlaw1451@gmail.com
โทรสาร : 02-895-9018
#บริการรับทำบัญชี #ภาษีอากร #ปิดงบการเงิน #ตรวจสอบบัญชี #จดทะเบียนบริษัท #จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน #ว่าความ #งานด้านกฎหมาย
#พระราม2 #บางบอน #บางแค #สมุทรสาคร #นนทบุรี #พระประแดง#บางประกอก #สุขสวัสดิ์ #โพธิ์แจ้
เว็บ —> http://www.account-law.com/


กรมสรรพากรร่วมมือกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต


เลขที่ข่าว ปชส. 17/2550

วันที่แถลงข่าว 22 พฤษภาคม 2550

เรื่อง กรมสรรพากรร่วมมือกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)  ให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต

วันนี้ (22 พฤษภาคม 2550 ) กรมสรรพากรได้จัดให้มีพิธีลงนามความร่วมมือในการให้บริการรับชำระภาษีด้วยบัตรเครดิต โดยนายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร ประธานในพิธีร่วมลงนามกับนายพงษ์ศักดิ์ ศรุติปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจร้านค้า เคทีซี หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและผู้เสียภาษี สามารถชำระภาษีได้ทุกประเภทภาษีด้วยบัตรเครดิตเคทีซี เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป

นายศานิต ร่างน้อย อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า “ การให้บริการครั้งนี้เป็นความร่วมมือครั้งสำคัญกับบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยผสมผสานศักยภาพของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยของทั้ง 2 หน่วยงาน มาใช้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไป ซึ่งต่อไปนี้การจ่ายชำระภาษีผ่านบัตรเครดิตเคทีซีจะเป็นทางเลือกใหม่ที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และผู้เสียภาษีให้เกิดความ สมัครใจในการทำหน้าที่ และก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของกรมสรรพากรในภาพรวมอย่างดียิ่ง จึงขอเชิญชวนให้ผู้เสียภาษี ใช้บริการชำระภาษีด้วยบัตรเครดิตเคทีซี ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2550 เป็นต้นไป โดยระยะแรกให้บริการเฉพาะสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา 51 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร และจะพิจารณาขยายการให้บริการดังกล่าวไปยังพื้นที่และบัตรเครดิตชนิดอื่น ๆ เพิ่มขึ้นต่อไปด้วย”

นายพงษ์ศักดิ์ ศรุติปกรณ์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานธุรกิจร้านค้า “ เคทีซี ” หรือบริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “เคทีซีมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับความไว้วางใจจากกรมสรรพากรให้เป็นผู้บริการรับชำระภาษีผ่านบัตรเครดิตเป็นครั้งแรกในเมืองไทยซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดเวลาให้แก่สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีทั่วประเทศถึงกว่า 1.42 ล้านบัตร โดยสมาชิกจะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ในการสะสมคะแนนตามปกติของการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยทุกการใช้จ่าย 25 บาท จะได้รับคะแนนสะสม 1 คะแนน และสมาชิกจะเสียค่าธรรมเนียมรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเพียง 2% จากยอดภาษีที่ต้องชำระ และเราหวังว่า การบริการในรูปแบบใหม่นี้จะสามารถตอบสนองความต้องการแก่สมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีได้สูงสุด และจะ มุ่งมั่นสรรหาบริการที่ดีและมีประโยชน์มานำเสนอให้แก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ”

http://www.rd.go.th/publish/34963.0.html


ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือ ( ชายแดนไทย – กัมพูชา ) ยื่นแบบเสียภาษี ณ สถานที่ทำการค้าได้แล้ว


ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือ ( ชายแดนไทย – กัมพูชา ) ยื่นแบบเสียภาษี ณ สถานที่ทำการค้าได้แล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://download.rd.go.th/fileadmin/images/image_news/news5_2553.pdf


กรมสรรพากรจัดสัมมนาเรื่อง “ลด แลก แจก แถมอย่างไร ได้ทั้งใจ…ได้ทั้งภาษี”


กรมสรรพากรจัดสัมมนาเรื่อง “ลด แลก แจก แถมอย่างไร ได้ทั้งใจ…ได้ทั้งภาษี”

สถานที่จัดสัมมนา : ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 2 อาคารกรมสรรพากร (ซอยพหลโยธิน 7)
เหมาะสำหรับ : บริษัท,ห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลและสำนักงานบัญชี และผู้สนใจทั่วไป

สำหรับท่านที่สนใจประสงค์จะเข้ารับฟังการสัมมนาโปรดสำรองที่นั่งได้ที่ http://www.rd.go.th/publish/seminar/page1.html ช่องทางเดียวเท่านั้น

เปิดให้สำรองที่นั่งตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2552 ตั้งแต่เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป (เนื่องจากมีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก โปรดรีบลงทะเบียนตามวัน เวลา และช่องทางที่กำหนด) ไม่มีที่นั่งเสริมให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ทำการสำรองที่นั่ง หรือสำรองที่นั่งไม่ทัน การสัมมนานี้ กรมสรรพากรจัดให้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น และ ไม่สามารถนับเป็นชั่วโมงการอบรมของผู้สอบบัญชีภาษีอากรได้

http://download.rd.go.th/fileadmin/download/SeminarTAXFree-261152.pdf


กฎหมายออกใหม่ ” ต.ค.2552″


คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.177/2552

คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. ๑๗๗/๒๕๕๒
เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร

———————————————

                       อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ มาตรา ๘๓ และมาตรา ๙๑/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

                       ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ (๓) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๑๑๒/๒๕๔๕ เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                             “ (๓) หน่วยงานสรรพากร อาคารกองอำนวยการตลาดโรงเกลือ เลขที่ ๓๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีกรณีการขายสินค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จุดผ่อนปรน โรงเกลือ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอรัญประเทศ”

                       ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

 

คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.176/2552

 คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.๑๗๖/๒๕๕๒
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
——————————————

                 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้

                 ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๖ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๓๔/๒๕๓๔ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                          “ความในวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
                          (๑) ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วไม่ต่ำกว่า ๖๐ ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร
                          (๒) ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล
                          (๓) กำหนดเวลาเช่าต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการให้เช่าอาจไม่ถึง ๓ ปีก็ได้
                          คำว่า “การให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง” หมายความว่า สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนำออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ให้เช่าก็ได้”

                 ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร

 http://www.rd.go.th/publish/41668.0.html