ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ และการคลังของรัฐบาล ประเภทภาษีอากร แบ่งเป็นภาษีอากรทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายที่ทางรัฐบาลใช้ในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากร
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม
- มีความแน่นอน และชัดเจน
- มีความสะดวก
- มีประสิทธิภาพ
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
- อำนวยรายได้
- มีความยืดหยุ่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎหมายบัญญัติ, การกู้ยืม, การเก็บภาษี, ขายสินค้า, ชำระหนี้สินของรัฐบาล, ทรัพยากร, ประมวลรัษฎากร, ผู้เสียภาษี, ผู้เสียภาษีอากร, ภาษี, ภาษีทางอ้อม, ภาษีอากร, ภาษีอากรทางตรง, รัฐธรรมนูญ, รัฐบาล, ราษฎร, หนี้สินของรัฐบาล, อากร, เก็บภาษี, เงินได้, เศรษฐกิจ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.177/2552
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป. ๑๗๗/๒๕๕๒
เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
———————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๑ มาตรา ๘๓ และมาตรา ๙๑/๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร อธิบดีกรมสรรพากรจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในข้อ ๒ (๓) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. ๑๑๒/๒๕๔๕ เรื่อง กำหนดสถานที่รับแบบแสดงรายการ และรับชำระเงินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร ลงวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ (๓) หน่วยงานสรรพากร อาคารกองอำนวยการตลาดโรงเกลือ เลขที่ ๓๕๐ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว สำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีกรณีการขายสินค้าชายแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ณ จุดผ่อนปรน โรงเกลือ หมู่ที่ ๗ ตำบลป่าไร่ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้อีกแห่งหนึ่ง นอกจากที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาอรัญประเทศ”
ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๑๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.176/2552
คำสั่งกรมสรรพากร
ที่ ท.ป.๑๗๖/๒๕๕๒
เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร
มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
——————————————
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๓ เตรส แห่งประมวลรัษฎากร และกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๔๔ (พ.ศ. ๒๕๒๒) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยภาษีเงินได้ อธิบดีกรมสรรพากรสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร หักภาษี ณ ที่จ่าย ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของข้อ ๖ ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๔/๒๕๒๘ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. ๓๔/๒๕๓๔ เรื่อง สั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินตามมาตรา ๔๐ แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ลงวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
“ความในวรรคหนึ่ง ไม่ให้ใช้บังคับกับการจ่ายเงินค่าเช่าตามสัญญาให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่งที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(๑) ผู้ให้เช่าเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วไม่ต่ำกว่า ๖๐ ล้านบาท และเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๒/๓ แห่งประมวลรัษฎากร
(๒) ผู้เช่าเป็นนิติบุคคล
(๓) กำหนดเวลาเช่าต้องมีระยะเวลาตั้งแต่ ๓ ปีขึ้นไป เว้นแต่ทรัพย์สินที่ให้เช่าเป็นทรัพย์สินที่ผู้ให้เช่ายึดมาจากผู้เช่ารายอื่น ระยะเวลาในการให้เช่าอาจไม่ถึง ๓ ปีก็ได้
คำว่า “การให้เช่าทรัพย์สินแบบลีสซิ่ง” หมายความว่า สัญญาให้เช่าทรัพย์สิน ซึ่งผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินและนำออกให้เช่าโดยให้คำมั่นว่า เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า ผู้เช่ามีสิทธิเลือกที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าหรือส่งคืนทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ให้เช่าก็ได้”
ข้อ ๒ คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับสำหรับการจ่ายเงินได้พึงประเมินตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
วินัย วิทวัสการเวช
(นายวินัย วิทวัสการเวช)
อธิบดีกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/publish/41668.0.html
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวง, ประมวลรัษฎากร, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
Posted in ข่าวกรมสรรพากร | No Comments »