ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมีสิทธิตามกฎหมายโดยสรุปดังนี้
2.1 การผ่อนชำระภาษี
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามแบบ ภ.ง.ด. 90 ภ.ง.ด. 91ที่มีจำนวนเกินกว่า 3,000 บาท สามารถแบ่งจ่ายงวดละเท่าๆกัน ไม่เกิน 3 งวด โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม
– ภาษีอากรที่ค้างชำระ โดยยื่นคำร้องขอผ่อนภายใต้หลักเกณฑ์การผ่อนชำระของกรมสรรพากร
2.2 การยื่นอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี
กรณีที่ผู้เสียภาษีถูกประเมินภาษีอากร หากไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ผู้เสียภาษีมีสิทธิ์ยื่นอุทธรณ์การประเมินเป็นหนังสือ (แบบ ภ.ส.6) ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน และหากได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วยังไม่เห็นด้วยก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลภาษีอากรได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หากไม่ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีไม่มีสิทธิอุทธรณ์ใดๆ และต้องชำระภาษี พร้อมทั้งเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามการประเมินให้ครบถ้วน
2.3 ขอทุเลาการชำระภาษีอากรโดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรค้าง
การใช้สิทธิอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุให้ทุเลาการเสียภาษีอากร ผู้เสียภาษีที่ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินให้ชำระภาษี มีหน้าที่ต้องชำระภาษ๊ตามการประเมินนั้น ภายในกำหนดเวลาที่ได้แจ้งไว้ในหนังสือแจ้งการประเมิน อย่างไรก็ตาม หากต้องการรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือคำพิพากษา ผู้เสียภาษีมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการชำระภาษี โดยจัดให้มีหลักประกันการชำระหนี้ภาษีอากรด้วยหลักทรัพย์ต่างๆ ภายใต้หลักเกณฑ์ตามระเบียบของกรมสรรพากร
2.4 ของดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีอากร
ผู้เสียภาษีที่มีหน้าที่ยื่นแบบฯ และชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนภายในกำหนดเวลาตามกฎหมาย หากมิได้ยื่นแบบฯ หรือชำระภาษีภายในกำหนดเวลา ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมายนอกเหนือจากเงินภาษีที่ต้องชำระอีกด้วย อย่างไรก็ดี หากการกระทำความผิดมีเหตุอันควรผ่อนผัน ผู้เสียภาษีอาจมีคำร้องเป็นหนังสือของดหรือลดเบี้ยปรับและอาจได้รับการพิจารณางดหรือลดเบี้ยปรับให้ได้ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้ สำหรับเงินเพิ่มไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจเจ้าพนักงานฯงดหรือลดให้ได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่อธิบดีอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาชำระหรือนำส่งภาษี และได้มีการชำระหรือนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลาที่ขยายแล้ว เงินเพิ่มจะลดลงมาเหลือเพียงกึ่งหนึ่ง
2.5 ขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสาร
ผู้เสียภาษีมีสิทธิขอคัดเอกสารหรือขอสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเสียภาษีของตนเองได้ เช่น ขอคัดสำเนาแบบแสดงรายการภาษีของตนเอง หรือใบเสร็จรับเงินค่าภาษีแต่ละประเภทที่เป็นของตนเอง เป็นต้น
ที่มา : บทความจากกรมสรรพากร
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎหมาย, กรมสรรพากร, ชำระภาษี, ผู้เสียภาษี, ภาษีอากร, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | Comments Off on สิทธิของผู้เสียภาษี
ประเภทของภาษีในประเทศไทย
ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 5 ประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีอากรแสตมป์
และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่
- ภาษีป้าย
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
- ภาษีบำรุงท้องที่
อีกทั้งยังมีภาษีอากรที่จัดเก็บโดย กรมสรรพสามิต ที่เรียกว่าภาษีสรรพสามิต ที่เรียกเก็บกับสินค้าและบริการบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, นิติบุคคล, น้ำหอม, บุคคลธรรมดา, ประเทศไทย, ประเภทของภาษี, ป้าย, ภาษี, ภาษีที่ดิน, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีอากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีโรงเรือน, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีในประเทศไทย, ยาสูบ, สรรพากร, สุรา, ส่วนท้องถิ่น, อากรแสตมป์, แสตมป์
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
โครงสร้างกฎหมาย ภาษีอากร
กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้ออันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 6 หัวข้อด้วยกัน คือ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
- ฐานภาษีอากร
- อัตราภาษีอากร
- การประเมินการจัดเก็บภาษีอากร
- การอุทธรณ์ภาษีอากร
- เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎหมาย, กฎหมายภาษี, กฎหมายภาษีอากร, การจัดเก็บภาษีอากร, การอุทธรณ์ภาษีอากร, ฐานภาษีอากร, ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร, ภาษี, ภาษีอากร, อัตราภาษีอากร, เงินเพิ่ม, เบี้ยปรับ, โครงสร้างกฎหมาย, โทษ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ และการคลังของรัฐบาล ประเภทภาษีอากร แบ่งเป็นภาษีอากรทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายที่ทางรัฐบาลใช้ในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากร
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม
- มีความแน่นอน และชัดเจน
- มีความสะดวก
- มีประสิทธิภาพ
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
- อำนวยรายได้
- มีความยืดหยุ่น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กฎหมายบัญญัติ, การกู้ยืม, การเก็บภาษี, ขายสินค้า, ชำระหนี้สินของรัฐบาล, ทรัพยากร, ประมวลรัษฎากร, ผู้เสียภาษี, ผู้เสียภาษีอากร, ภาษี, ภาษีทางอ้อม, ภาษีอากร, ภาษีอากรทางตรง, รัฐธรรมนูญ, รัฐบาล, ราษฎร, หนี้สินของรัฐบาล, อากร, เก็บภาษี, เงินได้, เศรษฐกิจ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการคลัง, การค้า, การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, การปฏิรูปภาษี, การปฏิรูปภาษีการค้า, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การลงทุน, การลงทุนการส่งออก, การส่งออก, การเงินการคลัง, ประวัติ, ประวัติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ประเทศไทย, ผู้เสียภาษี, ภาษี, ภาษีการค้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากร, มูลค่าเพิ่ม, ระบบ, ระบบภาษี, ระบบภาษีการค้า, ระบบภาษีอากร, ศุลกากร, เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, เศรษฐกิจ, โครงสร้างภาษี
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »