ประเภทของภาษีในประเทศไทย
ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 5 ประเภท คือ
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีอากรแสตมป์
และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่
- ภาษีป้าย
- ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
- ภาษีบำรุงท้องที่
อีกทั้งยังมีภาษีอากรที่จัดเก็บโดย กรมสรรพสามิต ที่เรียกว่าภาษีสรรพสามิต ที่เรียกเก็บกับสินค้าและบริการบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรมสรรพสามิต, กรมสรรพากร, นิติบุคคล, น้ำหอม, บุคคลธรรมดา, ประเทศไทย, ประเภทของภาษี, ป้าย, ภาษี, ภาษีที่ดิน, ภาษีธุรกิจเฉพาะ, ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีป้าย, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีอากร, ภาษีอากรแสตมป์, ภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา, ภาษีโรงเรือน, ภาษีโรงเรือนและที่ดิน, ภาษีในประเทศไทย, ยาสูบ, สรรพากร, สุรา, ส่วนท้องถิ่น, อากรแสตมป์, แสตมป์
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษี ประเภทที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท โดยสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ โดยอัตราการเรียกเก็บขึ้นอยู่กับทางหน่วยงานปกครองจะกำหนด
ภาษีสรรพสามิตในประเทศไทย
ประเทศไทยจัดเก็บ ภาษีสรรพสามิต โดยออก พ.ร.บ. เพื่อควบคุมสินค้าหลักๆ เช่น สุรา ยาสูบ ไพ่ แบตเตอรี่ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน และ สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม รถยนต์ เรือยอชต์ รวมทั้งสถานบริการ เช่น สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : น้ำมัน, น้ำหอม, ประเทศไทย, ผลิตภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์น้ำมัน, พ.ร.บ., ภาษี, ภาษีสรรพสามิต, ยาสูบ, รถยนต์, สถานบริการ, สนามกอล์ฟ, สนามแข่งม้า, สรรพสามิต, สินค้าฟุ่มเฟือย, สุรา, เรือยอชต์, แบตเตอรี่, ไพ่
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการคลัง, การค้า, การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, การปฏิรูปภาษี, การปฏิรูปภาษีการค้า, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การลงทุน, การลงทุนการส่งออก, การส่งออก, การเงินการคลัง, ประวัติ, ประวัติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ประเทศไทย, ผู้เสียภาษี, ภาษี, ภาษีการค้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากร, มูลค่าเพิ่ม, ระบบ, ระบบภาษี, ระบบภาษีการค้า, ระบบภาษีอากร, ศุลกากร, เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, เศรษฐกิจ, โครงสร้างภาษี
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »