ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม


ผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือ ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ


ประเภทของภาษีในประเทศไทย


ประเภทของภาษีในประเทศไทย

ภาษีอากรที่ทางกรมสรรพากร จัดเก็บมี 5 ประเภท คือ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะ
  • ภาษีอากรแสตมป์

และภาษีส่วนที่จัดเก็บโดยส่วนท้องถิ่น ได้แก่

  • ภาษีป้าย
  • ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • ภาษีบำรุงท้องที่

อีกทั้งยังมีภาษีอากรที่จัดเก็บโดย กรมสรรพสามิต ที่เรียกว่าภาษีสรรพสามิต ที่เรียกเก็บกับสินค้าและบริการบางประเภท เช่น สุรา ยาสูบ น้ำหอม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


หนังสือรับรอง


การออกหนังสือรับรองภาษาอังกฤษ

ปัจจุบันสรรพากรได้ให้บริการการออกหนังสือรับรองการเสียภาษี และการมีถิ่นที่อยู่เป็นภาษาอังกฤษให้กับผู้เสียภาษี ผู้เสียภาษีสามารถนำหนังสือรับรองเหล่านี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางภาษีในต่างประเทศได้

ประเภทหนังสือรับรองที่ออกให้โดยกรมสรรพากร

1.   หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (Non – Resident Withholding Tax Certificate)

2.   หนังสือรับรองการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษ (Income Tax Payment

Certificate)

3.   หนังสือรับรองการมีถิ่นที่อยู่เพื่อการรัษฎากรในประเทศไทย (Certificate of Residence)

4.   หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (Statement on the Tax Status of the Business)

5.   หนังสือรับรองการมีสถานภาพเป็นผู้เสียภาษีตามกฎหมายไทย (Certificate of Status of Taxable Person)

ผู้ออกหนังสือรับรอง

สำนักงานสรรพากรที่รับผิดชอบในท้องที่ของผู้หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือผู้เสียภาษี ซึ่งได้แก่

–   สรรพากรภาค

–   สำนักบริหารผู้เสียภาษีขนาดใหญ่

ขออย่างไร

ยื่นคำร้องต่อสำนักงานสรรพากรที่ท่านสังกัดตามข้างต้น พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ตามประเภทของหนังสือรับรองที่ต้องการ)

http://www.rd.go.th/publish/286.0.html