ผู้ประกอบการที่ขายสินค้า หรือ ให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : คณะบุคคล, คำนวณภาษี, จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, นิติบุคคล, บุคคลธรรมดา, ผู้ประกอบการ, ผู้ประกอบการจดทะเบียน, ภาษี, ภาษีซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม, ห้างหุ้นส่วนสามัญ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี | Comments Off on ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : Value Added Tax, VAT, การจ่ายภาษี, จ่ายภาษี, ภาษี, ภาษีขาย, ภาษีซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, มูลค่าเพิ่ม, วัตถุดิบ, วัสดุอุปกรณ์, อัตราภาษี, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ
http://www.rd.go.th/publish/7061.0.html
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : คณะบุคคล, ภาษีซื้อ
Posted in ความรู้เรื่องภาษี | No Comments »