ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรก
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กระทรวงการคลัง, การค้า, การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, การปฏิรูปภาษี, การปฏิรูปภาษีการค้า, การพัฒนาเศรษฐกิจ, การลงทุน, การลงทุนการส่งออก, การส่งออก, การเงินการคลัง, ประวัติ, ประวัติ ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ประเทศไทย, ผู้เสียภาษี, ภาษี, ภาษีการค้า, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีศุลกากร, ภาษีอากร, มูลค่าเพิ่ม, ระบบ, ระบบภาษี, ระบบภาษีการค้า, ระบบภาษีอากร, ศุลกากร, เก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, เศรษฐกิจ, โครงสร้างภาษี
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax – VAT) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้า หรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา 100 บาท และมีภาษีซื้อ 10 บาท เมื่อผลิตเป็นสินค้าขายในราคา 150 บาท ตอนขายไปจะต้องคิดภาษีขาย 15 บาท ดังนี้ ก็จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 15-10 = 5 บาท เท่านั้น ถ้าการซื้อ และขายเกิดขึ้นภายในรอบการจ่ายภาษีเดียวกัน.
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : Value Added Tax, VAT, การจ่ายภาษี, จ่ายภาษี, ภาษี, ภาษีขาย, ภาษีซื้อ, ภาษีมูลค่าเพิ่ม, มูลค่าเพิ่ม, วัตถุดิบ, วัสดุอุปกรณ์, อัตราภาษี, อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
Posted in ความรู้เรื่องภาษี, บทความเกี่ยวกับบัญชี | No Comments »
กรมสรรพากรชี้แจงหลักเกณฑ์ยกเว้นภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปีกับผู้แทนธนาคารพาณิชย์
http://www.rd.go.th/publish/fileadmin/images/image_news/news19_2552.pdf
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : กรมสรรพากร, ดอกเบี้ย, ธนาคารพาณิชย์, ภาษี, เงินฝากออมทรัพย์
Posted in ข่าวกรมสรรพากร | No Comments »