กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ 7 มิติ


กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จับมือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ 7 มิติ

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างความร่วมมือทางวิชาการ การศึกษา วิจัยพัฒนา และบริหารจัดการงานด้านเกษตรและสหกรณ์ เพื่อรวบรวมเสริมสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ใน 7 มิติ โดยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ โดยนายอนันต์ ภู่สิทธิกุล อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรองศาสตราจารย์ชูเกียรติ รักซ้อน ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2552 ณ โรงแรมเคพี แกรนด์ จังหวัดจันทบุรี

ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวมุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอยู่ดีกินดีบนพื้นฐานความสมดุล นำไปสู่ความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ สร้างโอกาสการเรียนรู้ใน 7 มิติ ได้แก่

1) การสร้างมาตรฐานการบัญชีสถาบัน
2) การสร้างเครื่องมือสารสนเทศ (IT เตือนภัย)
3) การสร้างความร่วมมือผู้ตรวจสอบกิจการ
4) การสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีสมาชิก
5) การสร้างเครือข่ายธุรกิจวิสาหกิจชุมชน
6) การสร้างความสนใจเกษตรกรรุ่นใหม่
7) การสร้างอาสาสมัครครูบัญชีอาสา

http://www.cad.go.th/


สร้างโอกาสการเข้าถึงระบบตลาดเพื่มศักยภาพการพึ่งพาตนเองของสหกรณ์


สร้างโอกาสการเข้าถึงระบบตลาดเพื่มศักยภาพการพึ่งพาตนเองของสหกรณ์

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เร่งสร้างโอกาสการเข้าถึงระบบตลาดสร้างเครือข่ายรายสินค้าระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ (Business to Business : B to B) ในงาน “คนไทยหัวใจเกษตรครั้งที่ 2” ระหว่างวันที่ 26-29 พฤศจิกายน 2552 ณ กันตนา มูฟวี่ทาวน์ ศาลายา จังหวัดนครปฐม

ธุรกิจสหกรณ์ถือเป็นเศรษฐกิจฐานรากที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคการเกษตรไทย ซึ่งถือเป็นภาคใหญ่ของสหกรณ์ด้วยสมาชิกมากที่สุดกว่า 6 ล้านคน ที่มีการจัดการใน 3 ธุรกิจหลัก สร้างมูลค่าเพิ่มถึง 105,324.17 ล้านบาท และสร้างกำไรสุทธิมูลค่า 2,623.22 ล้านบาท ในปี 2552 หากมองผ่านตัวเลขดังกล่าวผ่านกลไกการบัญชี นับได้ว่า ภาคสหกรณ์ไทยเป็นบทพิสูจน์อย่างดีในการรองรับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจในภาครัฐ ดังนั้น การพัฒนาธุรกิจของสถาบันเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง จะช่วยให้สหกรณ์สามารถสร้างกำไรเพื่อช่วยเหลือสมาชิก และเข้าถึงโอกาสทางการตลาดและแหล่งทุน

ภายใต้โครงการพลิกฟื้นธุรกิจสถาบันเกษตรกรผ่านกลไกการบัญชี ปี 2552 – 2553 ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์นั้น จะช่วยให้สถาบันเกษตรกรเข้าถึงโอกาสในการเข้าถึงระบบตลาด สร้างการแพร่กระจายการจัดการเชิงพื้นที่รายสินค้า กลุ่มธุรกิจ (Business to Business : B to B)

ภายในงาน “คนไทยหัวใจเกษตร ครั้งที่ 2” ซึ่งกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ร่วมกับ สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ และบริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) โดยฟาร์ม แชนเนล (ประเทศไทย) จำกัด นอกจากจะมีการจัดแสดง และจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ของชุมชนภายใต้การบริหารจัดการของสหกรณ์การเกษตร ได้จัดให้มีเวทีการสร้างเครือข่ายรายสินค้าระหว่างสหกรณ์กับสหกรณ์ (Business to Business : B to B) เพื่อให้สหกรณ์ได้เจรจาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสหกรณ์ทุกวัน และเป็นการเปิดตลาดทางการค้า อันจะส่งผลให้มีการพัฒนาธุรกิจของสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็ง เป็นอิสระและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยได้รับความสนใจจากสหกรณ์ที่ร่วมงานเป็นอย่างดี และเพื่อให้การเปิดตลาดการค้าให้กับสหกรณ์ภาคการเกษตร มีระบบที่ทันสมัยรวดเร็ว และเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ยังได้พัฒนาเครื่องมือ (Tools) ที่จะช่วยให้ตลาดการค้าของธุรกิจสหกรณ์แพร่หลายสู่กลุ่มผู้ผลิตผู้บริโภค และสหกรณ์อื่นๆ ผ่านเว็บไซต์ www.coopinthailand.com ซึ่งเว็บไซต์ดังกล่าว ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ ของสหกรณ์กว่า 1500 แห่งทั่วประเทศ โดยสามารถค้นหาข้อมูล แยกเป็นหมวดหมู่รายสินค้าและรายพื้นที่ และยังเป็นดรรชนี แหล่งวัตถุดิบทางการเกษตร และศูนย์กลางแลกเปลี่ยนทางการค้าและธุรกิจ เป็นการสนับสนุนธุรกิจสหกรณ์ไทยฐานะตัวกลาง การซื้อขายแลกเปลี่ยนและกระจายผลผลิตจากกลุ่มเกษตรไปสู่กลุ่มผู้ผลิต ผู้บริโภค และกลุ่มสหกรณ์ด้วยกัน

นอกจากนี้ ยังเป็นการกระตุ้นให้เกิดการซื้อขายผลผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานในราคาเหมาะสม อันเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมการค้าแบบเสรี เพิ่มขีดการแข่งขันทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ และเพิ่มศักยภาพของกลุ่มสหกรณ์ไทยในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์ ช่วยเสริมสร้างรายได้ให้กับสหกรณ์ และพัฒนาคุณภาพชีวิตองค์รวมของคนไทยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง

สำหรับผู้ที่สนใจจะสมัครสมาชิกเว็บไซต์ดังกล่าว สามารถเข้าเยี่ยมชมและสมัครได้ที่ www.coopinthailand.comซึ่งมีโปรโมชั่นพิเศษ เมื่อสมัครภายในสิ้นปีนี้ เพียง 999 บาท (จากราคาปกติ 1,999 บาท) และจะได้รับสิทธิพิเศษ อาทิ พื้นที่สำหรับโฆษณาและประชาสัมพันธ์สหกรณ์บนเว็บไซต์ จำนวน 1 หน้า เป็นเวลา 1 ปี หนังสือ OPEN MARKET รายปี 1 เล่ม, เสื้อ T-Shirt OPEN MARKET 1 ตัว และกระเป๋าดีไซน์เก๋ 1 ใบ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณนาตยา คงนิยม โทร. 02-438-2033 , 081-990-8199

http://www.cad.go.th/


แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด


คำชี้แจง
เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด

ตามที่ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 18) พ.ศ.2551 ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัทเกี่ยวกับการบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ ถือหุ้น ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 นั้น

ปรากฏว่า การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัดตามมาตรา 1175 ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ ซึ่ง ได้กำหนดให้บริษัทจำกัดทุกบริษัทต้องส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนของ บริษัทและต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงประกาศหนังสือ พิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราวนั้นก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อผู้ ประกอบธุรกิจ 2 ประการดังนี้

ประการแรก การที่ให้บริษัทจำกัดต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นลงโฆษณา หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ ทำให้เกิดปัญหาและเป็นภาระในทางปฏิบัติ กล่าวคือ บริษัทในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทในครอบครัว การบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นจึงมักจะทำกันอย่างง่าย ๆ โดยการส่งจดหมายแจ้ง โทรศัพท์แจ้ง หรือส่งจดหมายนัดประชุมให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นโดยตรง ดังนั้นการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องนำคำบอกกล่าวลงโฆษณาหนังสือพิมพ์จึงเป็นการ สร้างภาระเกินความจำเป็น อีกทั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมของทุกปีที่บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมี อยู่กว่า 200,000 รายต้องจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปีพร้อมกัน หนังสือพิมพ์มีเนื้อที่ไม่เพียงพอรองรับการลงโฆษณาคำบอกกล่าวได้ ทำให้บริษัทเป็นจำนวนมากเกรงว่าการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้ลงโฆษณาคำ บอกกล่าวนัดเรียกประชุมผู้ถือหุ้นจะเสียไป และอาจต้องถูกดำเนินคดีอาญาที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายด้วย ซึ่งปัญหาดังกล่าวกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่ได้นิ่งนอนใจ ขณะนี้ได้ทำการยกร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงแก้ไขประเด็นที่เป็นปัญหาแล้วโดย หลักเกณฑ์การบอกกล่าวจัดประชุมผู้ถือหุ้นตามร่างที่จะปรับปรุงแก้ไขใหม่นั้น จะยึดหลักเกณฑ์เดียวกันกับการบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผล กล่าวคือ คำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ส่งทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น ทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนของบริษัท แต่การลงโฆษณาคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นนั้นจะลงโฆษณาก็แต่เฉพาะ กรณีที่บริษัทจำกัดใดมีการออกใบหุ้นชนิดออกให้แก่ผู้ถือเท่านั้น กรณีที่ออกใบหุ้นชนิดระบุผู้ถือหุ้นทั้งหมดไม่ต้องนำคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นลงโฆษณาหนังสือพิมพ์อีกต่อไป ขณะนี้ร่างกฎหมายดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนของการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ เกี่ยวข้องแล้ว คาดว่าจะนำเสนอกระทรวงพิจาณาได้ภายในต้นเดือนกรกฎาคม ศกนี้

ประการที่สอง เรื่องเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุม ซึ่งมีปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรจึงจะถือว่าได้ส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมให้กับผู้ถือหุ้นโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เนื่องจากเรื่องการส่งคำบอกกล่าวประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหุ้นส่วน บริษัทได้กำหนดไว้ 2 แห่งคือ มาตรา 1175 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เฉพาะเกี่ยวกับการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัด ประชุมผู้ถือหุ้น) และมาตรา 1244 (ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปสำหรับการส่งคำบอกที่บริษัทต้องส่งให้แก่ผู้ถือ หุ้น) เรื่องนี้เพื่อให้มีความชัดเจน กรมพัฒนาธุรกิจการค้าจึงขอเรียนชี้แจงแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการส่งคำ บอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นที่ถูกต้องดังนี้ การส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นอาจทำได้ 2 วิธี กล่าวคือ ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียน บริษัท หรือส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นให้ถึงตัวผู้ถือหุ้นที่มีชื่อใน ทะเบียนโดยตรง แต่ในกรณีหลังหากผู้ถือหุ้นนั้นไม่ยอมรับ บริษัทก็จะต้องดำเนินการส่งคำบอกกล่าวเรียกนัดประชุมผู้ถือหุ้นใหม่โดยส่ง จดหมายทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปรษณีย์ตอบรับ

จึงขอเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
3 กรกฎาคม 2552

http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=21993


การชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน


คำชี้แจง
เรื่อง การชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดด้วยทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากตัวเงิน

ด้วยมีผู้สอบถามกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอยู่เสมอว่าในกรณีบริษัทจำกัดหรือ บริษัทมหาชนจำกัดเพิ่มทุนบริษัทจะสามารถรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนด้วย ทรัพย์สินอย่างอื่นนอกจากตัวเงินได้หรือไม่ รวมทั้งมีผู้เข้าใจว่าบทบัญญัติของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ.2535 มิได้กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าบริษัทมหาชนสามารถรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนเป็น ทรัพย์สินอย่างอื่นได้และเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายในเรื่องดังกล่าวให้มี ความชัดเจนนั้น

เพื่อให้มีความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้าขอเรียนชี้แจง ดังนี้
1. กรณีบริษัทจำกัดสามารถออกหุ้นเพิ่มทุนโดยรับชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่น นอกจากตัวเงินได้โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นด้วยมติ พิเศษตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1221

2. สำหรับกรณีการเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนจำกัดซึ่งมีผู้เข้าใจว่าบทบัญญัติของ กฎหมายมิได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าบริษัทมหาชนสามารถรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนด้วย ทรัพย์สินอย่างอื่นได้นั้น ขอเรียนว่าอาจเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากตามมาตรา 35 (5) ซึ่งกำหนดในเรื่องการประชุมจัดตั้งบริษัทว่าบริษัทสามารถวางกำหนดหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิที่สามารถชำระค่าหุ้นด้วยทรัพย์สินอื่นนอกจากตัวเงินได้ นั้น กฎหมายกำหนดให้นำมาใช้บังคับกับการออกหุ้นเพิ่มทุนด้วยโดยอนุโลมซึ่งจะเห็น ได้จากความในวรรคท้ายของมาตรา 136 ซึ่งกำหนดให้นำหมวด 3 และหมวด 5 มาใช้บังคับโดยอนุโลม และตามหมวด 5 ในมาตรา 54 ซึ่งกำหนดในเรื่องการชำระค่าหุ้นนั้นอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 35 (5) นอกจากนั้นในมาตรา 137 ตอนท้ายยังได้กำหนดให้นำมาตรา 38 ซึ่งกำหนดในเรื่องผลของการไม่ชำระค่าหุ้นเมื่อคณะกรรมการเรียกให้ชำระค่า หุ้นหรือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้แก่บริษัทตามมาตรา 37 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลมด้วย ดังนั้น จากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจึงมีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้วว่า บริษัทมหาชนจำกัดสามารถรับชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนด้วยทรัพย์สินอื่นนอกจากตัว เงินได้ด้วย

จึงขอเรียนชี้แจงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
23 กรกฎาคม 2552

http://www.dbd.go.th/mainsite/index.php?id=22033


ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือ ( ชายแดนไทย – กัมพูชา ) ยื่นแบบเสียภาษี ณ สถานที่ทำการค้าได้แล้ว


ผู้ประกอบการค้าที่ตลาดโรงเกลือ ( ชายแดนไทย – กัมพูชา ) ยื่นแบบเสียภาษี ณ สถานที่ทำการค้าได้แล้ว

ข้อมูลเพิ่มเติม : http://download.rd.go.th/fileadmin/images/image_news/news5_2553.pdf